This page cannot be displayed.

ทัวร์ปากีสถาน PAKISITAN

ทัวร์ปากีสถาน PAKISITAN

ทัวร์ปากีสถาน  TOUR PAKISTAN

สถานที่ท่องเที่ยวปากีสถานคาราโครัมไฮเวย์และเมืองที่น่าสนใจเริ่มจากเมืองอิสลามาบัดและราวัลพินดีขึ้นเหนือไปจนถึงเมืองคัชการ์(จีน)

1. มัสยิด Faisal เป็นมัสยิดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชีย ตั้งอยู่ที่เมืองอิสลามาบัด

2. Murree เมืองพักตากอากาศที่อยู่ด้านเหนือของเมืองอิสลามาบัดไปประมาณ 50 กว่ากิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง หน้าหนาวช่วงที่มีหิมะตกจะวิวสวยมาก

3. พิพิทธภัณฑ์และเมืองเก่า Taxila อยู่ห่างจากเมืองราวันพินดีประมาณ 27 กิโลเมตร มีรถตู้จากเมืองราวัลพินดีแถว Saddar Bazaar และที่ท่า Pir Wadhai

4. หุบเขา Kaghan และทะเลสาบ Saiful Muluk สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้จะมีถนนแยกจากคาราโครัมไฮเวย์ที่เมือง Mansehra ออกไปราว 4-5 ชั่วโมง

5. เมือง Chilas ภาพเขียนเกี่ยวกับพระพุทธศานาบนหินและหน้าผาแถวเมือง Chilas ส่วนใหญ่จะอยู่แถวๆคาราโครัมไฮเวย์และแม่น้ำสินธุในช่วงก่อนถึง ทางเข้าเมือง Chilas สัก 10 กิโลเมตรและเลยจากทางเข้าเมือง Chilas ไปอีกหน่อย

6. Fairy Meadow และ Nanga Parbat Base Camp ทางเข้าจะอยู่บริเวณสะพาน Raikot ที่อยู่ห่างจากเมือง Chilas ประมาณ 50 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมือง Gilgit ประมาณ 80 กิโลเมตร จาก Fairy Meadow สามารถเดินไปกลับยัง Nanga Parbat Base Camp ภายในวันเดียวได้

7. หมู่บ้าน Astor และหมู่บ้าน Tarashing เป็นหมู่บ้านสำหรับไปชมยอดเขา Nanga Parbat ทางด้านใต้ ทางเข้าที่แยกจากคาราโครัมไฮเวย์จะอยู่แถวหมู่บ้าน Jaglot ซึ่งอยู่เลยสะพาน Raikot ไปประมาณ 30 กิโลเมตร

8. เมือง Gilgit เป็นเมืองศูนย์กลางทางภาคเหนือของปากีสถาน ที่เมืองนี้จะมีภาพเขียนแกะสลักพระพุทธเจ้าอยู่บนหน้าผา อยู่ห่างจากตัวเมือง Gilgit ไปทางด้านตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร

9. หุบเขา Naltar เป็นพื้นที่ทีอยู่ทางด้านเหนือของตัวเมืองกิลกิตขึ้นมาหน่อย เป็นหุบเขาที่มีลักษณะเป็นป่าสนที่สวยงาม อีกทั้งยังมีทะเลสาบและยอดเขาที่มีหิมะปกคลุมสูงระดับ 5,000 อยู่หลายยอด

10. หุบเขา Haramosh หุบเขาแห่งนี้จะอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของ Gilgit ลงมาแถวๆทางที่จะไปเมือง Skardu ที่แยกออกมาจากคาราโครัมไฮเวย์เล็กน้อย หุบเขาแห่งนี้จะเป็นลักษณะป่าสน ทุ่งหญ้า ธารน้ำแข็งและมีวิวภูเขาสูงที่สวยงาม เช่นยอดเขา Haramosh ที่มีความสูงมากกว่า 7,000 เมตร แต่ผู้ที่จะเข้าไปเทรคกิ้งในย่านนี้ควรติดต่อไกด์ท้องถิ่นที่รู้จักพื้นที่นี้เป็นอย่างดี เพราะเคยมีข่าวนักท่องเที่ยวถูกทำร้ายในย่านนี้ด้วยเช่นกัน

11. Rakaposhi Base Camp จะมีจุดเริ่มเดินที่หมู่บ้าน Minapin ซึ่งอยู่ใต้หมู่บ้าน Pisin ลงมาหน่อย หมู่บ้าน Pisin นี้ก็อยู่ริมๆคาราโครัมไฮเวย์ ห่างจากเมือง Gilgit ประมาณ 80 กิโลเมตร เบสแค้มป์นี้ก็ใช้เวลาเดินเพียง 1-2 วันเท่านั้น

12. หุบเขา Hunza มีเมืองศูนย์กลางที่เมือง Karimabad เป็นเมืองที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามมาก ล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาสูง เช่น Rakaposhi Diran Ultar เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวแวะมาเที่ยวชมค่อนข้างมาก ที่เมืองนี้จะมีป้อมเก่าที่เคยเป็นวังเก่ามาก่อนเรียกว่า Baltit Fort มีอายุมากกว่า 700 ปี ส่วนเส้นทางเดินเทรคกิ้งแถวเมือง Karimabad ก็จะมีเส้นทางเดินไปชมธารน้ำแข็ง Ultar และ Ultar Peak แบบใกล้ๆ ในบริเวณที่เรียกว่า Ultar Meadow ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง ส่วนใครมีเวลาไม่มากอาจจะเดินหรือจ้างรถจี๊ปขึ้นไปจุดชมวิวที่ Eagle Nest ก็ได้เพราะจะเห็นวิวภูเขาสูงต่างๆที่อยู่รอบๆเมือง Karimabad ได้มากขึ้น ถ้าเดินขึ้นไปก็ประมาณ 2 ชั่วโมง ถ้านั่งรถน่าจะประมาณครึ่งชั่วโมง จุดชมวิวนี้อยู่ทางด้านตะวันออกฉียงเหนือของเมือง Karimabad เมือง Karimabad ตั้งอยู่บนเนินเขาห่างจากริมถนนคาราโครัมไฮเวย์เพียง 1 กิโลเมตร

13. หมู่บ้าน Hoper อยู่ในพื้นที่ของหุบเขา Nagyr ซึ่งอยู่ใต้เมือง Karimabad ลงมาประมาณ 25 กิโลเมตร หมู่บ้านนี้ก็มีวิวทิวทัศน์สวยงามเช่นกัน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านคุณจะมองเห็นเห็นยอดเขา Lady Finger ยอดเขา Hunza ยอดเขา Ultar เป็นมุมกว้างสวยงามมาก ผมว่าสวยกว่าทางด้านเมือง Karimabad เสียอีก นอกจากนี้ใกล้ๆหมู่บ้านนี้ก็จะมีธารน้ำแข็ง Bualtar ให้เดินไปชมแบบง่ายๆใช้เวลาเดินเพียง 5-10 นาที

14. หมู่บ้าน Passu สัญลักษณ์เด่นของหมู่บ้านนี้ก็คือยอดเขาฟันเลื่อย Tupopdan ที่สวยงาม นอกจากนี้แถวหมู่บ้าน Passu ก็ยังมีธารน้ำแข็ง Passu และธารน้ำแข็ง Batura ที่แทบจะไหลมาเกือบถึงคาราโครัมไฮเวย์เลยทีเดียว และมียอดเขาสูงมากว่า 7,000 เมตรอยู่หลายยอด จึงมีเส้นทางเดินทางเทรคกิ้งที่สวยงามอยู่หลายเส้นเหมือนกัน และยังมีทะเลาสาบ Borit ที่สวยงามที่อยู่ใต้หมู่บ้าน Passu ลงมาหน่อย

15. สะพาน Hussaini เป็นสะพานแขวนที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกัน เพราะดูเหมือนมาผจญภัยแบบในหนังเรื่อง Indiana Jones ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาฟันเลื่อยและแม่น้ำ Hunza เป็นฉากหลังที่สวยงาม สะพานแห่งนี้จะอยู่แถวหมู่บ้าน Hussaini ซึ่งอยู่ใต้ลงมาจากหมู่บ้าน Passu มาตามคาราโครัมไฮเวย์ประมาณ 7 กิโลเมตร

16. หุบเขา Shimshal เป็นหุบเขาที่สวยงามแห่งหนึ่ง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน Passu แต่เส้นทางเข้าไปค่อนข้างลำบากและมักมีหินถล่มลงมาง่าย และจำเป็นต้องใช้ไกด์ท้องถิ่นที่ชำนาญเส้นทาง

17. เมือง Sost หรือ Afiyatabad เป็นเมืองชายแดนที่จะต้องแวะก่อนข้ามไปยังประทศจีน เพราะด่านตรวจคนเข้าเมืองและรถโดยสารที่จะวิ่งข้ามพรมแดนก็จะต้องมาจอดที่เมืองนี้

18. หุบเขา Chapursan จะอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง Sost ประกอบไปด้วยหมู่บ้านเล็กๆ ถึง 11 หมู่บ้านที่สวยงาม ใครที่สนใจก็ลองสอบถามหารถ ไกด์และข้อมูลเพิ่มเติมจากโรงแรม Sky Bridge Inn ที่เมือง Sost ได้

19. Khunjerab Pass จะเป็นจุดแบ่งพรมแดนประเทศจีนและประเทศปากีสถาน และเป็นจุดสูงสุดของคาราโครัมไฮเวย์ที่ระดับความสูงประมาณ 4,733 เมตร อยู่ห่างจากเมือง Sost ประมาณ 80 กิโลเมตร ข้างบนจะมีลานดอกไม้เล็กๆสีเหลือง สีม่วงสวยงามมากมีวิวภูเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่หลายยอด ซึ่งในฝั่งปากีสถานจะอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแห่งชาติ Khunjerab

20.เมือง Tashkurgan เมื่อคุณข้าม Khunjerab Pass จากปากีสถานมาแล้ว คุณจะต้องแวะเข้ามาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่เมืองนี้ก่อนเสมอ เมืองนี้จะมีป้อมเก่าหรือที่เรียกว่า Stone Ctiy อยู่ทางด้านตะวันออกของตัวเมือง ด้านบนของป้อมเมื่อมองออกไปทางด้านตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กว้างใหญ่ไพศาล

21. ทะเลสาบ Kara Kul เป็นทะเลสาบที่อยู่ริมทางคาราโครัมไฮเวย์ระหว่างเมือง Tashkurgan และเมือง Kashgar เป็นทะเลสาบที่สวยงามตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมะ 2 เทือก คือ Muztagh Ata และ Kongur รอบๆทะเลสาบจะมีชนพื้นเมืองชาวคีกีซอาศัยอยู่

22.เมือง Kashgar เมืองชายแดนด้านตะวันตกสุดของประเทศจีน อดีตเคยเป็นเมืองการค้าที่สำคัญตามเส้นทางสายไหมเมืองหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญก็จะมีมัสยิด Id Kah เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือสัก 1-2 กิโลเมตรก็จะมีสุสานของ Abakh Hoja ที่เป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามของชาวมุสลิมในเมืองคัชการ์ ทางด้านใต้ของตัวเมือง Kashgar ก็จะมีสุสานของ Yasuf Has Hajib ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง และถ้าใครอยากดูวิถีชีวิตชาวพื้นเมืองแบบดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอุยเกอร์มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ก็ควรหาโอกาสแวะไปชมตลาดนัดวันอาทิตย์ของเมืองคัชการ์ ที่นี่เป็นตลาดนัดที่คึกคักและใหญ่มาก

การเตรียมตัวเดินทางคาราโครัมไฮเวย์

ตัวอย่างอุณหภูมิคาราโครัมไฮเวย์ (ปากีสถาน) ช่วงเดือนเมษายน

DestinationAltitude in MeterDistance from IslamabadTemperature

Islamabad 549  -18 -28 C

Lahore 213260 Km21-35 C

Khunjrab Pass4934900 Km5-10 C

Sost2480814 Km8-10 C

Gulmit2350765 Km8-15 C

Hunza243873010-20 C

Gilgit145463010-20 C

 

เส้นทาง เส้นทางท่องเที่ยวในปากีสถานจะอยู่ในระดับความสูงโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่ละวันจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-8 ช.ม. (80-200 ก.ม.) โดยแวะชมสถานที่ต่างๆระหว่างทาง จุดท่องเที่ยวที่สูงที่สุดมีที่เดียวคือ กุลจิราฟ 4700 ม. แต่ปรกติจะไม่เป็นปัญหาเรื่องโรคที่สูงเนื่องจากนั่งรถปรับสภาพร่างกายไปในตัวแล้วประมาณ 4 ชั่วโมงจึงถึงจุดสูงสุด 4,700 ม.

เสื้อผ้า เนื่องจากเส้นทางจะผ่านตอนกลางของปากีสถานจะเย็นกว่าประเทศไทยพอสมควรและผ่านหุบเขาที่อยู่สูงที่สุดเช่นแถบกุลมิต หรือ กุลจีราฟ อากาศจะหนาวเย็น เสื้อผ้าจึงควรสามารถใส่ผสมร่วมกันได้ตามสภาพสถานการณ์ ดังนี้

-อิสลามาบัด : ไม่มีลมแรงมากนักแต่ช่วงเดินทางจะอากาศเย็นสบาย ควรเตรียมแจคเก็ตหนาอย่างธรรมดาไม่หนามากไปสวมใส่ด้วย
-กิลกิต : ไม่มีลมแรงมากแต่อากาศหนาวเย็นท่านต้องสวมเสื้อกันหนาวระดับอุณหภูมิ 10-15 องศา
-กุลมิต-กุลจีราฟพาส : เข้าสู่พื้นที่สูงระดับ 2500 เมตรแล้ว อากาศจะเย็นขึ้นไปอีก ท่านสามารถสวมเสื้อขนสัตว์ด้านในและด้านนอกเป็นแจ็คเก็ตกันหนาวอีกชั้น ซึ่งในวันเดินทางท่องเที่ยวกุลมิต-กุลจีราฟพาสจะเป็นจุดที่ชมกราเซียในที่สูง มีลมแรงและเย็นจัด อากาศหนาวประมาณ 5-10 องศาบนภูเขา ท่านต้องสวมเสื้อกันหนาวแบบกันลมได้ด้วย เตรียมหมวก และถุงมือให้พร้อม


การเตรียมเสื้อผ้าโดยรวม เนื่องจากอยู่บนเขาสูงและเดินทางหลายวัน กางเกงและเสื้อควรเป็นแบบสวมใส่ซ้ำได้หรือโปร่งสบาย จะได้ไม่มีปัญหาการพกเสื้อผ้าจนกระเป๋าหนักเกินควรเพราะโรงแรมหลายแห่งไม่มีพนักงานยกกระเป๋า จึงไม่ควรเอาไปมากเกินความจำเป็น สำหรับคนไม่ชอบหนาวควรเตรียมมีลองจอนแบบบางไปด้วย อย่าลืมเตรียม แว่นกันแดด ,ครีมกันแดด ด้วยเพราะถึงแม้อากาศเย็นแต่แดดก็จะร้อนแรงด้วยเช่นกัน ครีมทาผิว(มอยส์เจอร์) ต้องเตรียมไปด้วยเพราะอากาศแห้งและบางวันประทะลมแรงในที่สูง เตรีมถุงเท้าอุ่นๆสำหรับใส่นอน

กระเป๋า กระเป๋าต้องมีกุญแจปิดเสมอและควรเปิดง่าย ควรเตรียมกระเป๋าหรือเป้เล็กติดตัวสำหรับใส่สิ่งของที่จำเป็นระหว่างเดินทางบนรถ กระเป๋าไม่ควรใหญ่เกินไปเพราะต้องยกขึ้นโรงแรมเองในหลายแห่ง

อาหาร เนื่องจากปากีสถานเป็นดินแดนของอิสลามจึงไม่รับประทานหมูอาหารส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว ไก่ ผักรวมผสมมันฝรั่งและแครอท และมีเมนูเนื้อแกะ-แพะ แต่เนื้อปลาแทบไม่มีทาน


ไฟฟ้า ระบบ 220 w ปลั๊กเสียบสองขากลม บางครั้งการไฟฟ้าจะมีการตัดกระแสไฟฟ้าเป็นบางเวลา แต่ทางที่พักจะมีเครื่องทำไฟฟ้าสำรองเพื่อให้แสงสว่าง ดังนั้นควรเตรียมแบตเตอรี่สำรองไว้สำหรับกล้องถ่ายรูปในกรณีวันที่ไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้เพราะบางพื้นที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง ดังนั้นท่านควรนำแบตเตอรี่สำรองเปลี่ยนด้วย **เตรีมไฟฉายไปด้วยเพราะอาจพบเหตุการไฟดับตอนกลางคืน**

การซื้อของ สินค้าที่มีชื่อของปากีสถาน ก็คือเครื่องหนัง ผ้าพาสมิน่า (ผ้าขนสัตว์ที่ทำจากขนหน้าอกของแพะ) เครื่องหวายจักรสาน และพรม และสินค้าหัตถกรรมต่างๆ การซื้อของสามารถต่อรองราคาได้ การซื้อของให้เปรียบเทียบกับราคาของที่เมืองไทยได้ เพราะสินค้าบางอย่างสามารถซื้อได้ในเมืองไทย นอกจากนี้สินค้าบางอย่างอาจจะดูเหมือนกัน แต่คุณภาพต่างกันจึงราคาไม่เท่ากัน

** ผลไม้แห้ง-อินทผาลัม ให้ซื้อที่กิลกิต หรือระหว่างไปเบชาม หรือที่ตลาดพื้นเมืองอิสลามาบัด,ลาฮอร์

** ผลไม้ทุกชนิดหากเจอระหว่างทางเมื่อถูกใจแล้วให้ซื้อเลย อย่ารอซื้อที่อื่นเพราะจังหวะและโอกาสอาจไม่อำนวย

เงิน อัตราแลกเงิน 1 บาท = 2.50 รูปี (ประมาณ) ให้แลกดอลลาร์ไปแล้วไปแลกรูปีที่ปากีสถานได้

ทางปากีสถานไม่อนุญาตให้เอาเงินรูปีเข้า และออกนอกประเทศเกินกว่า 50 รูปี (แปลว่าต้องแลกให้พอดี และใช้ให้หมด)

เวลา ประเทศปากีสถานเวลาช้ากว่าไทย 2 ชั่วโมง

ทัวร์ปากีสถาน เที่ยวปากีสถาน แพคเกจทัวร์ปากีสถาน

ข้อมูลทัวร์ปากีสถาน Islamic Republic of Pakistan

ประเทศปากีสถาน หรือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

ประเทศปากีสถาน หรือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วย ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์ หรือกัษมีระ (Kashmir) สินธ์(Sindh) และบาลูชิสถาน (BaluchisTAN)

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับ อิหร่านและอัฟกานิสถาน ทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ

พื้นที่  796,095 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง  กรุงอิสลามาบัด (Islamabad)

เมืองสำคัญ  การาจี (Karachi) เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางใต้ของประเทศ ละฮอร์ (Lahore) เป็นเมืองศูนย์กลางของธุรกิจอุตสาหกรรม ทางเหนือของประเทศ

ภูมิอากาศ  บริเวณส่วนใหญ่ของประเทศอากาศร้อนและแห้งแล้ง ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงเหนือที่อากาศอบอุ่น และภาคเหนือมีอากาศเย็น

ประชากร  ประมาณ 180 ล้านคน

เชื้อชาติ   ปัญจาบร้อยละ 59 ปาทานร้อยละ 14 ซินด์ร้อยละ 12 บาลูชีร้อยละ 4 และมูฮาเจียร์ (Muhajir - ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดีย) ร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 3

ภาษา  ภาษาอูรดูเป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาอังกฤษใช้ในรัฐบาลกลางและแวดวงธุรกิจ และมีภาษาท้องถิ่นอาทิ ปัญจาบี ซินดิ ปาทาน และบาลูชี

ศาสนา  อิสลามร้อยละ 97 (ในจำนวนนี้ ร้อยละ 77 เป็นนิกายสุหนี่ และร้อยละ 20 เป็นนิกายชีอะห์) คริสต์ ฮินดูและอื่นๆ รวมร้อยละ 3

วันสำคัญ   วันที่ 23 มีนาคม (Pakistan Day)

การศึกษา   ประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี ที่อ่านออกเขียนได้เฉลี่ยร้อยละ 45.7 (แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 59.8 เพศหญิง ร้อยละ 30.6)

หน่วยเงินตรา  รูปีปากีสถาน (Pakistani Rupee) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 59.9 รูปี

เขตเวลา : PAT (UTC+5:00)

ฤดูร้อน : (DST) not observed (UTC+6:00)

รหัสอินเตอร์เน็ท : .pk

รหัสโทรศัพท์ : +92

 

ระบอบการเมือง  กึ่งประชาธิปไตย โดยประธานาธิบดีมีอำนาจสูงสุดจากการรัฐประหาร

ระบบการปกครอง
สาธารณรัฐ (Republic) แบ่งเป็น 4 รัฐ 1 เขตปกครอง และแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งปากีสถานและอินเดียโต้แย้งเรื่องสิทธิที่จะปกครองแคว้นทั้งหมด ในทางปฏิบัติทั้งสองประเทศแบ่งดินแดนเป็น 2 ส่วน และแยกกันปกครอง

ปากีสถานเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ การกระจายอำนาจการปกครองเป็นในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ 4 รัฐ (State หรือแคว้น - Province) ได้แก่ ซินด์ (Sindh) ปัญจาบ (Punjab) บาโลจีสถาน (Balochistan) รัฐตะวันตกเฉียงเหนือ (North West Frontier Province) นอกจากนั้นปากีสถานมี 1 เขตปกครอง (territory) เรียกว่าเขตชนเผ่า (Tribal Area) ซึ่งปกครองตนเองแต่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาลกลาง ส่วนแคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งปากีสถานและอินเดียต่างอ้างสิทธิในการปกครองนั้น ในทางปฏิบัติได้แบ่งเขตปกครองเป็นสองส่วน คั่นกลางด้วยเส้นควบคุม (Line of Control) และแต่ละประเทศปกครองในเขตของตน

ปากีสถานมีรัฐบาลกลาง (Federal Government) และรัฐบาลระดับรัฐ (State Government หรือ Provincial Government) แบ่งการปกครองเป็นระดับประเทศและระดับรัฐ ทำให้แต่ละรัฐมีระบบการบริหารภายในของตนเองด้วย

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
อาณาเขตของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาเซโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิ์อังกฤษได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดียและดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง และต่อมาอังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้นี้ได้โดยสมบูรณ์

ในยุคอาณานิคมนั้น ดินแดนปากีสถานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมในอินเดียได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของชาวมุสลิม (separate Muslim state) ขึ้นในอินเดีย ระหว่างปี 2480-2482 (ค.ศ. 1937-1939) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันภายใต้ชื่อ All-India Muslim League และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองต้องเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2483 (ค.ศ. 1940) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดนปากีสถาน

ต่อมาอินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ จนประสบความสำเร็จในวันที่ 14 สิงหาคม 2490 (ค.ศ. 1947) และทำให้ปากีสถานมีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกจากอินเดีย โดยแบ่งดินแดนปากีสถานเป็น 2 ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก โดยมี Quaid-i-Azam Muhammad Ali Jinnah เป็นผู้นำประเทศคนแรกในตำแหน่ง Governor General (ขณะนั้นยัง ไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี) และเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่องเป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation) ซึ่งต่อมาในปี 2514 (ค.ศ. 1971) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Tags ที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
LineID
Add LINE Friends via QR Code
Share on social networks
ติดต่อสำนักงาน
บริษัท ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 11/07022

12/4 ซอยสุขสวัสดิ์ 15/1 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎบูรณะ กรุงเทพ 10140

วันจันทร์ - วันเสาร์ 08.00 น. - 17.00 น.
บริการของเรา
บริการจองตั๋วเครื่องบิน
บริการทำ VISA ทุกประเทศ
บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศ
บริการจัดนำเที่ยวในประเทศ
บริการเช่ารถตู้ รถบัสโดยสาร
บริการจัดอบรมประชุมสัมมนา
บริการจองที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
LineID
Add LINE Friends via QR Code
ติดตามเรา
home
หน้าหลัก
quatation
ขอใบเสนอราคา
chat
ติดต่อเรา
ติดต่อ
chat ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
search ค้นหาโปรแกรมทัวร์
home หน้าหลัก
approval ขอใบเสนอราคา